030 ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๖

หลักอปัณกธรรม ๓ ที่เราจะต้องเข้าใจ ในทั้งหลัก และเข้าใจทั้ง ในรายละเอียด ที่เราจะประพฤติ สำหรับตน เหมาะแก่ตน ในรายละเอียด ที่เหมาะแก่ตน ก็ได้เน้นอยู่เสมอว่า เราจะต้องสมาทานเอา สำหรับเรื่องนี้ เรารู้สักกายะของเรา เมื่อเหตุ เรื่องปัจจัยของเรา เรารู้กิเลสของเราว่า เราจะต้อง ตั้งศีลตั้งหลัก สมาทาน กรรมฐาน ให้แก่เราเอง แล้วเราก็หัดทำ เมื่อได้หลักศีล หรือสังวรศีลแล้ว เราก็สำรวมอินทรีย์ หลักอปัณกธรรม ๓ เริ่มต้นด้วย สำรวมอินทรีย์ ซึ่งเป็นกลาง สำหรับศีลนั้น ของใครของมัน

หลักอปัณกธรรม ๓ ข้อนั้นก็กลางๆ ใครทุกคนต้อง จะถือศีลอย่างไร มากน้อย หยาบกลาง ซึ่งไม่เหมือนกัน แล้วอย่างไร ก็ต้อง เหมือนกันหมดทุกคน เมื่อเหมือนกันหมดทุกคน ตรงที่จะต้องใช้หลัก มีเหมือนกัน

ต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวม สังวร ระมัด ระวัง มันจะสัมผัส มันจะสัมพันธ์ จะเกี่ยวข้อง เพราะเราใช้หลัก มรรคองค์ ๘ เราจะมีการคิด มีการพูด มีทำการงาน มีอาชีพ ก็ต้องพยายาม แล้วก็มี สติสัมปชัญญะ รู้ เข้าใจ วิจัยวิเคราะห์ ตามปัญญาของเรา ตามความเห็นแจ้ง ความรู้ของเรา ศึกษาความรู้ พหูสูต เรื่อยๆ พหูสูต แล้วเราก็วิเคราะห์วิจัย สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖

โภชเนมัตตัญญุตา เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ทั้งหลายแหล่ ลด ละ ปลง ปลดปล่อย ลงไปเรื่อยๆ เรื่อยๆๆๆ ค้นเข้าสารัตถะ ค้นเข้าหาแก่น ในเรื่องโภชนะ ในเรื่องอุปโภค เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ต้องพยายาม จัดเจียน จัดแจง ให้เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ให้เป็นผู้ที่อิสระเสรี ให้เป็นผู้ที่ ไม่เป็นทาส ขึ้นมาจริงๆ

เพราะฉะนั้น นอกจากจะสำรวม ด้วยตัวเราเอง ด้วยทวารทั้ง ๖ แล้ว ไอ้เครื่ององค์ประกอบ องค์ประกอบ ก็ย่อมต้องมี เป็นบริขาร เป็นส่วนใช้ เป็นส่วนเกิน ก็เราก็จะต้องหัดรู้ ส่วนใช้ส่วนเกิน นี่เราจะอนุโลมไป บางครั้ง บางคราว แต่ในส่วนเป็นอาชีวะ ส่วนทั่วไป เราจะต้องมี เครื่องกินเครื่องใช้ อย่างนั้น แม้ที่สุด ในหลักเกณฑ์ ซ้อนลงไปว่า เราจะไม่สะสม แม้แต่ข้าว สักเม็ดหนึ่ง ไม่สะสมข้าว ไม่สะสมน้ำ ไม่สะสมยา ไม่สะสมอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของพระ ดังนี้เป็นต้น

และต้องเป็นผู้พิจารณา และประพฤติปฏิบัติ ให้สอดคล้อง ลงตัวจริงๆ เราจะเห็นได้ว่า การปฏิบัติด้วย สำรวมอินทรีย์นั้น ก็เป็นหลักใหญ่ ซึ่งรู้กันทั่วอยู่ ส่วน โภชเนมัตตัญญุตานั้น ที่จริงเป็นหลักใหญ่ แต่เขาไม่ค่อย เอาถ่านแล้วเรื่องนี้ เพราะว่า มันกิเลสมากใน โภชเนมัตตัญญุตา เป็นตัวกิเลสมาก จนเขาละเลย จนเดี๋ยวนี้ ไม่เข้าใจ อปัณกธรรม ๓ ข้อนี้ ข้อกลาง ข้อโภชเนมัตตัญญุตานี่ เป็นข้อสำคัญยิ่ง แต่เขากลับปล่อย ก่อนเพื่อน เพราะกิเลสมันใหญ่ มันหยาบ มันเกี่ยว มันข้องอยู่มาก มันเกี่ยวเป็นลาภ มันเกี่ยวเป็นยศ มันเกี่ยวเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อยู่ใน โภชเนมัตตัญญุตา นี่ทั้งสิ้น

เราจึงเห็นได้ว่า เมื่อฤทธิ์แรงของกิเลส มันมาก เขาก็ปล่อย โภชเนมัตตัญญุตา ข้ามๆไปเสีย คนเรียน คนสอน คนฝึก คนปรือ ไม่เห็นความสำคัญ ไม่เข้าใจด้วยปัญญาอันยิ่ง ก็จะค่อยๆปล่อย จนกระทั่ง สุดท้าย เราเห็นได้ชัด อยู่แล้วว่า เดี๋ยวนี้ อปัณกธรรม ๓ ถ้าจะพูดถึง สังวร สำรวมอินทรีย์ เขายังทำอยู่บ้าง เรียนบ้าง ศึกษาบ้าง และก็ยอมรับ ถ้าจะบอกว่า ชาคริยานุโยคะ เขาก็ยังพอยอมรับ เขาก็ศึกษา เขาก็พอ อธิบายไป ในความหมายของเขา เชิงเขา

ส่วน โภชเนมัตตัญญุตา นั้น เขาถึงประมาท ดูถูกเลยว่า ไม่ใช่เป็นหลักการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เรื่องกรรมฐาน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ในการปฏิบัติธรรม เขากล่าวอย่างนี้ได้เลยจริง และเขาก็กล้า กล่าวกันจริงๆ เขาตัดออกไป ได้อย่างไร ที่ตัดไปเพราะว่า เขาไม่รู้ เขาไม่เข้าใจ นั่นเอง เขาจึงตัด จึงปล่อย และเขาจึงเลิกร้าง เลิกราไป และขอย้ำเน้น ให้ฟังว่า มันเป็นเรื่องสำคัญ การปฏิบัติได้สังวร สำรวมอินทรีย์นั้น ก็จะมาเกี่ยวข้องกับ กาโย องค์ประชุม ของเครื่องอุปโภค การทำสติให้มั่น การทำให้เป็นผู้ตื่น ความหมายมันลึกซึ้ง เป็นนามธรรม เข้าไปอย่างยิ่ง ชาคริยานุโยคะ

เพราะเราจะเป็นผู้ตื่นนั้น ตื่นก็คือ ผู้ที่จะมีความรู้ เท่าทัน มีสติ และมีปัญญา มีธัมมวิจัย มีเครื่องอ่าน มีเครื่องเลือก ไม่ใช่เลือกเอา แต่เราเลือกออก ไม่ใช่เลือกเอา เลือกออก เลือกรับให้อยู่ในหลักของ มักน้อยสันโดษ

เมื่อเราเข้าใจตัวมักน้อย ตัวสันโดษที่แท้ เราเลือกรับ เลือกทำ ให้พอเหมาะ พอดี และก็น้อยลง น้อยลง เป็นไป จนกระทั่ง ถึงที่สุด น้อยที่สุดได้แล้ว เราก็จะรู้ว่า นี่น้อยที่สุดแล้ว น้อยกว่านี้ไปอีกไม่ได้ เช่นว่า เรารับประทาน อาหาร วันละมื้อหนึ่ง นี่น้อยที่สุดแล้ว เสื้อผ้า ๓ ผืน อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านพาเป็น ถึงขนาดเป็นพระ น้อยที่สุดแล้ว อะไรอย่างนี้ เป็นต้น

บ้านที่อยู่ นอนโคนไม้นี่ น้อยที่สุดแล้ว หรือกุฏิ ก็ขนาดที่จะสร้าง ก็ใหญ่โต ประมาณ ขนาดนี้ น้อยที่สุดแล้ว อะไรอย่างนี้เป็นต้น

เราจะเข้าใจทั้งเครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค เครื่องอาศัยต่างๆ นานา ตัวรู้ตื่น หรือตัว ชาคริยานุโยคะ จึงไม่ใช่ ความหมายตื้นๆ ว่ามันตื่นเฉยๆ ตื่นจากนอนหลับ ไม่ใช่ตื่นจากนอนหลับน่ะ มันไม่ใช่ ความหมายแน่

นอกจาก ตื่นจากนอนหลับแล้ว เป็นคนตื่น มันตื่นที่จิตวิญญาณ มันตื่นที่เป็นคนสดชื่น คนเบิกบาน ร่าเริง ตื่นโพลง รับรู้สัมผัส แววไว เข้าใจอีกด้วยซ้ำ เป็นตัวรู้ รู้ตื่น รู้ไม่ใช่ตื่น ตื่นเด๋อ ตื่นเฉย ตื่นเซ่อ ไม่ใช่ ตื่นรู้แววไว ชาญฉลาด มีธัมมวิจัย มีวิจักขณะ มีปัญญาเครื่องสอดส่อง รู้อะไรต่ออะไร อย่างฉลาดเฉลียว รู้การรู้งาน มีปฏิรูปการี มีการกระทำงาน อันเหมาะควร อันเหมาะเจาะ อยู่เสมอๆ เป็นคนเอาธุระ ไม่ใช่เป็นคนทอดธุระ, เป็นคนเอาการเอางาน เป็นคนมีธุรวา อย่างนี้เป็นต้น เป็นคนขยัน หมั่นเพียร มีอุฏฐานะ

ลักษณะเหล่านี้ จะเป็นคนเจริญ เป็นคนที่ ย่อมหาทรัพย์ได้ และทรัพย์นั้น ถ้าเป็นโลก ก็เป็นทรัพย์โลก เป็นทรัพย์วัตถุด้วย ถ้าเป็นธรรมะ ก็เป็นอริยทรัพย์ ย่อมเป็นผู้หาทรัพย์ได้ เพราะเราเป็น ผู้ที่มีคุณธรรม ดังที่กล่าวแล้ว เป็นคน ผู้มีประมาณน้อย เป็นผู้มีเครื่องปัญญา เครื่องสอดส่อง เป็นผู้ที่กระทำการ อันเหมาะเจาะ มีปฏิรูปการี เป็นผู้ที่ไม่ทอดธุระ เป็นผู้ที่ เอาการเอางาน เป็นผู้ที่ ขยันหมั่นเพียร ดังนี้ ย่อมเป็นผู้รู้ รู้จักอริยสัจ อริยทรัพย์ ย่อมประสบ ในคุณสมบัติ หรือจะแปลทับศัพท์ เข้าไปเลยง่ายๆ ก็ได้ว่า จะเป็นผู้ที่ หาทรัพย์ได้ ความหมายนั้น มันค่อยจะเป็นรวม หรือค่อยจะเป็น วัตถุธรรมมากหน่อย

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจวัตถุธรรมเขา แล้วก็ซ้อนลงไป ในความหมาย เป็น นามธรรมเอง เราก็เอาอย่าง ที่ได้แนะเชิง ของนามธรรม หรือเชิงลึกซึ้ง เข้าไปหา โลกุตระ ดังที่ได้อธิบายเชิงนี้ ไม่ค้านแย้งกันกับ ที่จะอธิบาย โดยวัตถุ

ถ้าผู้ใดเข้าใจ เป็นไปอย่างนี้จริง ก็จะต้องรู้ว่า ชีวิตเรานั้น จะต้องสำรวม สังวรอินทรีย์ ๖ โภชเนมัตตัญญุตา หัดประมาณทีเดียว ประมาณ แม้มีประมาณน้อย มีอัปปมัตตะ มีประมาณน้อยเสมอ มีประมาณน้อย หัดน้อย ให้พอเหมาะพอสม บางคน ก็น้อยมากอยู่ก่อน เพราะมัน ยังไม่ลงตัว จนกระทั่ง น้อยที่สุด เสมอกัน เป็นไปเหมือนๆกัน ตามหลัก ตามเกณฑ์ ของพระพุทธเจ้า เอามาวัดได้ เป็นผู้ที่จะได้ทรัพย์ มีน้อย เราก็ได้ทรัพย์ สมบูรณ์แล้ว เราพอแล้ว ทรัพย์เท่านี้ เรามีสันโดษแล้ว มีพอแล้ว น้อยเท่านี้ อย่างนี้เป็นต้น

คำว่ารู้ คำว่าตื่น ชาคริยานุโยคะ จึงมีความหมาย ที่ละเอียดลออ เพิ่มเติมอยู่ ดังที่ได้แนะเ ชิงเกี่ยวข้องด้วยกัน โภชเนมัตตัญญุตา เกี่ยวข้องด้วยกับ ความรู้ในผัสสะ ในทวารทั้ง ๖ เกี่ยวข้อง

เพราะฉะนั้น แม้แต่หลักอปัณกธรรม ๓ นี้ก็สัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกัน เพราะชีวิตของเรา ย่อมเป็นอย่างนั้น ชีวิตของเรา ย่อมยังเหลือ ทวารทั้ง ๖ อยู่ ย่อมยังอยู่ ตั้งอยู่ ทรงอยู่ ด้วยโภชนะ โภชเนต่างๆ หรือเกี่ยวกับ เครื่องอุปโภค บริโภค ก็ต้องอยู่กับมันด้วย

และจะต้อง เป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบาน แจ่มใส เป็นที่สุด เป็นเครื่องอาศัย เฉพาะตน ถ้าได้ความรู้ ความตื่น ความเบิกบานแจ่มใส เราก็เลื่อนย้าย ชาคริยานุโยคะ มาเรียกว่า พุทธะ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้รู้ เป็นผู้เบิกบาน แจ่มใส

เพราะฉะนั้น ฐานของชาคริยานุโยคะ จึงเป็นหลัก ที่จะกรอง หรือที่จะรับผล ให้เลื่อนไหล เข้ามาสู่ ความเป็นพุทธะ อันสมบูรณ์นั่นเอง ในหลักการปฏิบัติ อปัณกธรรม ๓ นี้ ก็ขยายความ หรือว่า แจกแจง เปิดเผย จำแนกให้ฟัง ด้วยความหมาย ที่ยกตัวอย่าง ประกอบด้วยดังนี้ ขอให้พวกเรา ได้สอดส่องตนเอง ด้วยหลัก อปัณกธรรม ๓ ให้ดีๆ ชื่อว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรม ไม่ผิดจาก ศาสนาพุทธ

สาธุ.